
แหล่งข้อมูลและทรัพยากรเพื่อการป้องกันภัยทางดิจิทัล
คุณหรือบุคคลใกล้ชิดกำลังเผชิญกับการคุกคามทางดิจิทัลหรือไม่
แหล่งข้อมูลและทรัพยากรเพื่อการป้องกันภัยทางดิจิทัลของเรานำเสนอแนวทางแก้ไขสำหรับปัญหาการคุกคามทางดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ โดยอ้างอิงจากงานวิจัยเชิงวิชาการที่ได้จัดทำขึ้น
ระหว่างช่วง พ.ศ. 2560 – 2561, ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “การรณรงค์เพื่อเสริมสร้างแพลตฟอร์มทางประชาธิปไตย (Pro-democracy platform advocacy)” ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ทางทีมวิจัยได้สัมภาษณ์นักรณรงค์ปกป้องสิทธิทางดิจิทัลจำนวน 40 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มคนชายขอบ (ผู้หญิง, LGBTQ+, ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนา, และนักเคลื่อนไหวในพื้นที่ชนบท) จากประเทศพม่า ไทย และกัมพูชา เกี่ยวกับวิธีที่ชุมชนของพวกเขาสร้างความเข้มแข็งเพื่อรับมือกับการคุกคามทางดิจิทัล ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ด้วยการสนับสนุนจาก WITNESS ทีมวิจัยได้แปลงผลการวิจัยให้เป็นข้อเสนอแนะ ที่ปรับให้เหมาะสมกับปัญหาการคุกคามทางดิจิทัลที่พบได้บ่อยที่สุด ขณะนี้
ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นและมุมมองที่แสดงออกในที่นี้เป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว และไม่ได้มีความจำเป็นที่จะสะท้อนถึงจุดยืนของสหภาพยุโรปหรือหน่วยงานบริหารโครงการวิจัยแห่งยุโรป (European Research Executive Agency) ทั้งนี้ สหภาพยุโรปและหน่วยงานที่ให้ทุนไม่สามารถรับผิดชอบต่อเนื้อหาดังกล่าวได้
แหล่งข้อมูลและทรัพยากรของเรา
คุณสามารถดูข้อเสนอแนะของเราได้ด้านล่าง พูดคุยกับแชตบอทของเราทาง Telegram หรือดาวน์โหลดเวอร์ชัน PDF ของข้อเสนอแนะได้ที่นี่ เราจะอัปเดตข้อเสนอแนะเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเมื่อมีแหล่งข้อมูลใหม่ ๆ ปรากฏขึ้น
(Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License)
ด้านล่างนี้คือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีที่คุณอาจใช้ในการแก้ไขปัญหาของตนเอง
-
a) หากข้อมูลถูกเผยแพร่บนโซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มส่งข้อความ: ให้รายงานบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของคุณและเนื้อหาที่เผยแพร่ไปยังแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง หรือขอให้เพื่อนของคุณช่วยดำเนินการขณะที่คุณพักจากการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, Telegram, Viber, Line)
b) ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของเนื้อหาในโซเชียลมีเดียของคุณ (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube)
c) เปิดใช้งานระบบตรวจสอบหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication) สำหรับบัญชีออนไลน์ของคุณ (เช่น Facebook, Instagram, X, YouTube, Telegram, Viber, Line)
d) พิจารณาใช้แอปพลิเคชันสื่อสารที่ปลอดภัยกว่า เช่น Signal, Proton Mail, Jitsi
e) พิจารณาแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-
-
a) รายงานข้อความข่มขู่หรือคุกคาม และบัญชีที่ส่งข้อความดังกล่าวไปยังแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, Telegram, Viber, Line)
b) บล็อกบัญชีที่ส่งข้อความข่มขู่หรือคุกคาม (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, Viber, Line)
c) ขอให้เพื่อนของคุณช่วยดำเนินการข้างต้นแทนคุณ ขณะที่คุณพักจากการใช้งานออนไลน์
d) กรณีข้อความข่มขู่: พิจารณาย้ายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยขึ้นหรือติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณที่พักของคุณ
e) พิจารณาแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-
a) รายงานบัญชีที่ปลุกระดมให้โจมตีคุณ และข้อความที่ใช้ปลุกระดมไปยังแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, Telegram, Viber, Line)
b) ขอให้เพื่อนของคุณช่วยดำเนินการข้างต้นแทนคุณ ขณะที่คุณพักจากการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์
c) ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณที่พักของคุณ
d) พิจารณาย้ายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยขึ้น
e) พิจารณาแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือผู้อื่นในการแก้ปัญหา
-
a) หากข้อมูลถูกเผยแพร่บนโซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มส่งข้อความ: ให้รายงานบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเพื่อนคุณและเนื้อหาที่เผยแพร่ไปยังแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง คอยติดตามว่าบัญชีดังกล่าวยังคงเผยแพร่ข้อมูลของเพื่อนคุณหรือไม่ และพักจากการใช้งานออนไลน์หากคุณรู้สึกเครียดเกินไป (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, Telegram, Viber, Line)
b) ขอให้เพื่อนของคุณพักจากการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์
c) ขอให้เพื่อนของคุณตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของเนื้อหาในโซเชียลมีเดีย (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube)
d) ขอให้เพื่อนของคุณเปิดใช้งานระบบตรวจสอบหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication) สำหรับบัญชีออนไลน์ของเพื่อน (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, YouTube, Telegram, Viber, Line)
e) ขอให้เพื่อนของคุณพิจารณาใช้แอปพลิเคชันสื่อสารที่ปลอดภัยกว่า เช่น Signal, Proton Mail, Jitsi
f) พิจารณาแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-
a) ขอให้เพื่อนของคุณพยายามกู้คืนบัญชีที่ถูกแฮ็ก (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, Telegram, Line)
b) ขอให้เพื่อนของคุณเปิดใช้งานระบบตรวจสอบหลายปัจจัยสำหรับบัญชีออนไลน์ของพวกเขา (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, YouTube, Telegram, Viber, Line)
c) ขอให้เพื่อนของคุณพิจารณาใช้แอปพลิเคชันสื่อสารที่ปลอดภัยกว่า เช่น Signal, Proton Mail, Jitsi
-
a) รายงานข้อความข่มขู่หรือคุกคาม และบัญชีที่ส่งข้อความดังกล่าวไปยังแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง คอยติดตามสถานการณ์ และพักจากการใช้งานออนไลน์หากคุณรู้สึกเครียดเกินไป (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, Telegram, Viber, Line)
b) ช่วยเพื่อนของคุณบล็อกบัญชีที่ส่งข้อความข่มขู่หรือคุกคาม (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, Viber, Line)
c) ขอให้เพื่อนของคุณพักจากการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์
d) หากเป็นข้อความข่มขู่: พิจารณาช่วยเพื่อนของคุณย้ายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยขึ้นหรือติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณที่พักของพวกเขา
e) พิจารณาแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-
a) รายงานบัญชีที่ปลุกระดมให้โจมตีเพื่อนของคุณและข้อความที่ใช้ปลุกระดมไปยังแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง คอยติดตามว่าบัญชีดังกล่าวยังคงเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือไม่ และพักจากการใช้งานออนไลน์หากคุณรู้สึกเครียดเกินไป (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, Telegram, Viber, Line)
b) ขอให้เพื่อนของคุณพักจากการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์
c) ช่วยเพื่อนของคุณย้ายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยขึ้นหรือติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในบริเวณที่พักของพวกเขา
d) พิจารณาแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-
a) รายงานข้อมูลเท็จและบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตรวจสอบบัญชีเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องว่าเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับเพื่อนของคุณอีกหรือไม่ หากรู้สึกเครียดให้หยุดพักการเข้าถึงโลกออนไลน์สักระยะ (วิธีการ: Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, Telegram, Viber, Line)
b) ขอให้เพื่อนหยุดพักจากการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้ที่ digisec.wiki
แชทบอท Telegram
ทีมวิจัย
ดร. Mai Van Tran
ดร. Van เป็นนักวิจัยสหสาขาวิชาชีพที่ศึกษาวัฒนธรรมดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเธอประจำอยู่ที่ศูนย์ดิจิทัลไลเซชัน ประชาธิปไตย และนวัตกรรม (Centre for Digitalisation, Democracy and Innovation) ของ Brussels School of Governance มหาวิทยาลัย Vrije Universiteit Brussel งานวิจัยของเธอมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงของพลวัตทางสังคมอันเนื่องมาจากการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ๆ
ดร. ธุวานนท์ ภัทรธนสุทธิ์
ดร. ธุวานนท์ ภัทรธนสุทธิ์ ปัจจุบันเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่สถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน สนใจศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการประท้วง ความสัมพันธ์ข้ามชาติ และความเชื่อมโยงระหว่างโลกออนไลน์กับโลกออฟไลน์
Haymarn Soe Nyunt
Haymarn เป็นนักเคลื่อนไหวของสหภาพนักศึกษาและนักวิจัยที่สนใจเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม การพลัดถิ่น การต่อสู้ของแรงงาน และการศึกษา เขาทำงานเป็นนักวิจัยที่ Hta Naung Institute และเป็นสมาชิกของ Virtual Federal University (VFU) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะกรรมการด้านการศึกษาและการวิจัยแห่งสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง และเป็นผู้แทนของ University of Yangon - University Interim Council (UYUIC) บทความของเขาได้รับการเผยแพร่ในสื่อหลากหลายแพลตฟอร์ม เช่น Tea Circle, Visual Rebellion, Equal Times และ IJBS เป็นต้น
Lewis Young
Lewis เป็นนักวิจัยที่ทำงานด้านการติดตามข้อมูลเท็จ/บิดเบือน และเนื้อหาที่เป็นอันตรายทั้งในและนอกโลกออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 สันติภาพ และความขัดแย้ง ที่อาจส่งผลต่อภูมิทัศน์ทางสังคมของเมียนมา ปัจจุบันเขาทำงานอยู่ที่ Intellectum Research Consortium ซึ่งมุ่งเน้นด้านการวิจัยนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล
นลินทิพย์ เอกพงษ์
นลินทิพย์จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากบัณฑิตวิทยาลัยเอเชียแปซิฟิกศึกษา (The Graduate School of Asia-Pacific Studies) มหาวิทยาลัยวาเซดะ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นลินทิพย์สนใจในการศึกษาวิจัยด้านการเมืองและการระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Peosamnang Soth
Peosamnang ป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของกลุ่ม LGBTIQ+ ในประเทศกัมพูชา
Thanh Nguyen
Thanh Nguyen ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์นี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานสร้างสรรค์ของเธอได้ที่ tnguyen.webflow.io